เป็นพอลิเมอร์ทีผ่านกระบวนสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง โดยการนำไปผสมสารเติมเต็มเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติบางอย่างให้เกิดเป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยสารเติมเต็มที่ใช้ปรับคุณสมบัติของพลาสติกชนิดนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- สารเติมคุณสมบัติต่างๆ (Additives) เช่น เพื่อให้ทนความร้อนหรือ UV, สารที่เติมเพื่อให้อ่อนและยืดตัวได้มากขึ้น, สารปรับสี, สารเติมเพื่อขยายตัว หรือสารป้องกันการเสื่อมอายุ เป็นต้น
- สารเสริมแรง (Reinforcements) คือการเติมสารเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการรับแรงของพลาสติกให้ดีขึ้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ผลิตพลาสติกเสริมเส้นใยแก้ว หรือพลาสติกไฟเบอร์กลาส
- สารเพิ่มเนื้อ (Fillers) โดยวัตถุประสงค์ในการเติมสารที่อยู่ในรูปของสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์นั้น ก็เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อพลาสติก ไม่ให้เปราะแตกง่าย
ทำไมต้องใช้ พลาสติกวิศวกรรม ?
วัตถุประสงค์หลักของการเลือกใช้งานของพลาสติกประเภทนี้ คือเป็นตัวเลือกทดแทนวัสดุโลหะ เช่น เฟืองในชิ้นส่วนรถยนต์, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า, ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ หรือตลับลูกปืนพลาสติก ที่ใช้แทนตลับลูกปืนทั่วไป เพื่อลดการปนเปื้อนจากสนิมในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมยา ทำให้พลาสติกกลุ่มนี้จัดเป็นพลาสติกที่มีมูลค่าสูง เพราะผ่านกรรมวิธีการปรับแต่งโครงสร้างจนได้คุณสมบัติของพลาสติกที่เหมาะสมกับการนำมาใช้งานเชิงวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแรง ความเหนียว การทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อการติดไฟ เป็นต้น
ประเภทของพลาสติกวิศวกรรม สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามลักษณะโครงสร้างของโมเลกุล ได้ดังนี้
- เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) : หลายคนอาจคุ้นกับชื่อที่เรียกกันว่า เรซิ่น และเป็นพลาสติกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คุณสมบัติของเทอร์โมพลาสติกนี้เมื่อได้รับความร้อนทำให้เกิดการอ่อนตัวหรือหลอมเหลว เพราะมีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก ซึ่งนำไปใช้ในกระบวนการขึ้นรูปได้ง่าย เมื่อพลาสติกเย็นตัวจะกลับมาเป็นพลาสติกแข็งเหมือนเดิม ข้อดีของพลาสติกประเเภทนี้คือ สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ก็มีข้อเสียคือ ไม่สามารถคงรูปร่างที่อุณหภูมิสูงได้
โดยพลาสติกที่อยู่ในประเภทของเทอร์โมพลาสติกนี้ได้แก่
- อะคริลิค (Acrylic) : เป็น พลาสติกวิศวกรรม ที่มีลักษณะใส สามารถให้แสงส่องผ่านได้ มีความแข็งแกร่ง และทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดีกว่า Polystyrene มีความคงทนต่อความร้อนดีมาก และเป็นฉนวนไฟฟ้าดีปานกลาง สามารถนำไปย้อมสีได้ เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบรถยนต์ เช่น ไฟเลี้ยว ไฟท้าย, กระจกรถยนต์, หน้าปัดเข็มไมล์, ป้ายโฆษณา, แว่นตา, เลนส์ ใช้ทำกระจกแทนแก้ว, หลังคาโปร่งแสง, เครื่องสุขภัณฑ์ ไปจนถึงเครื่องประดับบางชนิด
- โพลีโพรพิลีน (Polypropylene หรือพลาสติก PP) : เป็น พลาสติกวิศวกรรม ที่ เป็นวัสดุ Food Grade สามารถทนต่อสารเคมีและน้ำมันได้ดี มีความแข็งและเหนียว ทนแรงกระแทก ทนอุณหภูมิได้มากกว่า 100 ℃ น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ จึงนิยมนำไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ถุงร้อน, กล่องอาหารและหลอดดูด, รวมถึงชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องจักร อุตสาหกรรมไลน์ชุบหรือไลน์เคมี เป็นต้น
- โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate : พลาสติก PC) : เป็น พลาสติกวิศวกรรม ที่มีความโปร่งแสง แข็งแรงและเหนียวกว่ากระจกประมาณ 250 เท่า และมากกว่าอะคริลิค 20 เท่า สามารถดัดโค้งงอได้ ทนอุณหภูมิได้ -20 ถึง 140 ℃ ทนความเป็นกรดได้ดี แต่ไม่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นด่าง มีให้เลือกใช้ได้ทั้งแบบแผ่นตันและแบบแผ่นลอนลูกฟูก จึงนิยมนำไปใช้งาน เช่น การทำหลังคา, กระจกกันกระสุนของรถยนต์, กระจกนิรภัย นอกจากนั้นก็ยังมีการนำไปใช้กับเครื่องมือทางการแพทย์ หรือเลนส์กล้องบางยี่ห้อ
- โพลีเอทิลีน (Polyethylene : พลาสติก PE) : พลาสติกวิศวกรรม ชนิดนี้ทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 100 ℃ แต่ทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ถึง – 73 ℃ มีความแข็งแรงและเหนียวทนทาน สามารถทนสารเคมีได้ดีแต่ไม่ทนต่อน้ำมัน สามารถลอยน้ำได้และมีเนื้อสัมผัสลื่นมัน สามารถแยกใช้งานได้ 3 แบบ คือ ความหนาแน่นสูง (HDPE), ความหนาแน่ปานกลาง(MDPE) และความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ส่วนใหญ่นำไปใช้ผลิตเป็น ขวดบรรจุน้ำหรือสารเคมี, ท่อน้ำ, ท่อไฟฟ้า, ใช้ในงานเคลือบผิวชิ้นส่วนเครื่องจักร เป็นต้น
- โพลิออกซิเมทิลีน (Polyoxymethylene : POM) : เป็น พลาสติกวิศวกรรม ที่มีลักษณะทึบแสง สีขุ่นมัวคล้ายน้ำนม ผิวลื่นมัน ยืดหยุ่นได้ดีในอุณหภูมิสูงและต่ำ ทนเคมีได้ดี ทนการเสียดสีและทนต่อแรงดึงได้ดี อุณหภูมิใช้งาน -50 ถึง 100 ℃ มีความหนาแน่นมากกว่าไนล่อน นิยมใช้เพื่อทดแทนโลหะในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักร, เครื่องยนต์, บูช เฟือง, เกียร์, ลูกเบี้ยว, สกูร, ล้อเลื่อน, โซ่และแบริ่ง
- โพลิไวนิลลิดีน ฟลูออไรด์ (PolyvinylideneหรือPolyvinylidene difluoride : PVDF) : เป็น พลาสติกวิศวกรรม พิเศษที่ใช้ในการใช้งานที่ต้องการความบริสุทธิ์สูงสุดรวมทั้งความทนทานต่อตัวทำละลายกรดและเบส เมื่อเทียบกับ fluoropolymers อื่น เช่น Teflon PVDF มีความหนาแน่นต่ำ สามารถฉีดขึ้นรูปหรือเชื่อมได้เพื่อนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ท่อ, แผ่น, ฟิล์ม และฉนวนสำหรับสายพรีเมี่ยมได้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคมีเซมิคอนดักเตอร์, การแพทย์ และการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ไปจนถึงอุตสาหกรรมด้านการบินและอวกาศ
- เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (Thermosetting plastic) : เป็น พลาสติกวิศวกรรม ที่มีสมบัติพิเศษ คือทนความร้อน ทนแรงดัน ทนแรงกระแทก รบมถึงทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก สามารถคงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมากและไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน แต่จะสลายตัวแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำทันทีที่อุณหภูมิสูง ไม่สามารถนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้ โดยพลาสติกที่อยู่ในประเภทของเทอร์โมเซตติ้งพลาสติกนี้ ได้แก่
- เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (melamine formaldehyde) : ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทนความร้อนได้ถึง 140 องศาเซลเซียส และทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนยาก เมลามีนใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารหลายชนิด และนิยมใช้กันมาก มีทั้งที่เป็นสีเรียบและลวดลายสวยงาม ระวังการใช้งานกับน้ำส้มสายชู เพราะจะซึมเข้าเนื้อพลาสติกได้ง่ายทำให้เกิดรอยด่าง แต่ไม่มีพิษภัยเพราะไม่มีปฏิกิริยากับพลาสติก
- ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (phenol-formaldehyde) : เป็น พลาสติกวิศวกรรม ที่ต้านทานต่อตัวทำละลายสารละลายเกลือและน้ำมัน แต่พลาสติกอาจพองบวมได้นิยมใช้ทำฝาจุกขวดและหม้อ
- อีพ็อกซี (epoxy) : พลาสติกชนิดนี้นำมาใช้งานมากมาย ส่วนใหญ่นำมาใช้เคลือบผิวของพื้นและผนังเพื่อกันลื่น นอกจากนั้นยังใช้ในการหล่ออุปกรณ์ที่ทำจากโลหะและเคลือบผิวอุปกรณ์, เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นใยของท่อ หรือท่อเก็บก๊าซ ใช้ในการเชื่อมส่วนประกอบโลหะ แก้ว และเซรามิก เป็นต้น
- พอลิเอสเตอร์ (polyester) : นิยมนำมาใช้ทำพลาสติกสำหรับเคลือบผิว ขวดน้ำ เส้นใย ฟิล์มและยาง หรือเส้นใยสำหรับการทอผ้า
- พอลิยูรีเทน (polyurethane) : หรือที่เรียกว่าพลาสติก PU นิยมใช้ทำเป็นกาว หรือน้ำมันชักเงาพลาสติกและยาง
ติดต่อเรา
Tel : 0-2102-0196-7
พลาสติกวิศวกรรม ที่เราจัดจำหน่าย
พลาสติกโพลีโพรพิลีน (Polypropylene : PP) มีคุณสมบัติ คือ ทนต่อสารเคมีและน้ำมันได้ดี มีความแข็งและเหนียว ทนแรงกระแทก ทนอุณหภูมิได้มากกว่า 100 ℃ มีน้ำหนักเบาสามารถลอยน้ำได้และเป็นวัสดุ Food Grade
พลาสติกโพลีเอทิลีน (Polyethylene : PE) สามารถแยกย่อยได้ 3 ชนิด คือ ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ชนิดความหนาแน่ปานกลาง(MDPE) และชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) พลาสติกชนิดนี้ทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 100 ℃ แต่ทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ถึง – 73 ℃ มีความแข็งแรงและเหนียว ทนสารเคมีได้ดี แต่ไม่ทนต่อน้ำมัน สามารถลอยน้ำได้ เนื้อสัมผัสลื่นมัน
พลาสติกโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate : PC) มีคุณสมบัติเด่น คือ พลาสติกที่มีความโปร่งแสง มีความเหนียว และแข็งแรงกว่ากระจกประมาณ 250 เท่า มากกว่าอะคริลิค 20 เท่า ทนอุณหภูมิได้ -20 ถึง 140 ℃ ดัดโค้งงอได้ ทนความเป็นกรดได้ดี แต่ไม่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นด่าง สามารถพบเห็นทั่วไป มีให้เลือกทั้งแบบแผ่นตันและแบบแผ่นลอนลูกฟูก
พลาสติกโพลิออกซิเมทิลีน (Polyoxymethylene : POM) หรือ โพลีอะซิทัล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ โพลีฟอมัลดิไฮด์ มีลักษณะทึบแสง ผิวลื่นมัน ยืดหยุ่นได้ดีในอุณหภูมิสูงและต่ำ ทนเคมีได้ดี ทนการเสียดสี และทนต่อแรงดึงได้ดี อุณหภูมิใช้งาน -50 ถึง 100 ℃
พลาสติกเบกาไลท์หรือเบคิไลต์ (Bakelite) เป็นชื่อทางการค้าของ ฟีนอลฟอมัลดิไฮด์เรซิน มีความเป็นฉนวนทางไฟฟ้าที่ดีมาก ทนอุณหภูมิได้ประมาณ 80-150 ℃ ขึ้นอยู่กับชนิดของเบคิไลท์ มีความแข็งแต่ไม่เหนียว ทนต่อสารเคมีได้ดี
ติดต่อเรา
Tel : 0-2102-0196-7