ชิ้นส่วนของแมคคานิคอลซีลและวัสดุที่ใช้ทำแมคคานิคอลซิลมีอะไรบ้าง
เลือกวัสดุแมคคานิคอลซีลอย่างไร ให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน
แมคคานิคอลซีลถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จะขาดไปไม่ได้เลยในการใช้งานกับเครื่องจักรที่มีเพลาหมุนเป็นส่วนประกอบ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องจักรได้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าในบรรดาอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นล้วนใช้เครื่องจักรในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องเข้าใจชิ้นส่วนและวัสดุที่มาของแมคคานิคอลซีลให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้งานแมคคานิคอลซีลได้อย่างถูกต้องวัตถุประสงค์มากที่สุด
ชิ้นส่วนและวัสดุที่สำคัญของแมคคานิคอลซีล
สำหรับการใช้แมคคานิคอลซีลนั้นสิ่งแรกที่เราควรคำนึงถึงคือการเลือก วัสดุของชิ้นส่วนต่างๆในแมคคานิคอลซีลให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน สาเหตุก็เป็นเพราะว่าการเลือกใช้แมคคานิคอลซีลที่มีวัสดุไม่ถูกกับประเภทการใช้งานนั้นจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง และอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่มาจากการรั่วซึมได้ในท้ายที่สุด เนื่องจากวัสดุไม่ตรงกับลักษณะการใช้งานกับตัวกลางของเหลวนั้น ๆ เช่น อุณหภูมิ, ค่าความเป็นกรด-ด่าง และรวมไปถึงแรงดันเป็นต้น โดยแมคคานิคอลซีลนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 3 ส่วนดังนี้
- หน้าสัมผัส (Seal Face) โดยจะถูกแบ่งออกเป็นหน้าสัมผัสแบบหมุน (Rotary Seal Face) และหน้าสัมผัสที่อยู่กับที่ (Stationary Seal Face) ซึ่งผิวหน้าสัมผัสจะถือเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับภาระหนักที่สุด เพราะจากการเคลื่อนที่สัมผัสกันของหน้าซีลทั้งสองภายใต้แรงกดของสปริงและยาง จะก่อให้เกิดความร้อนที่บริเวณผิวหน้าซีลเป็นส่วนใหญ่ โดยวัสดุที่นิยมนำมาผลิตหน้าสัมผัสนั้นได้ตัวอย่างเช่น
- คาร์บอน-กราไฟต์ (Carbon-Graphite) อีกหนึ่งวัสดุที่นิยมนำมาทำเป็นหน้าสัมผัสอันดับต้น ๆ มีคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบา เกรดที่นิยมนำมาผลิตแมคคานิคอลซีล ได้แก่ Resin Impregnated Grade และ Antimony Imprgnated Grade
- เซรามิค (Aluminium oxide) ถูกจัดเป็นวัสดุหน้าแข็งที่ไม่ใช่โลหะ มีคุณสมบัติที่ทนต่อการสึกหรอได้ดี และยังทนต่อสารเคมีได้ค่อนข้างดี มีราคาถูก
- ทังสเตนคาร์ไบด์ (Tungsten Carbide) เป็นสารประกอบโลหะที่มีคุณสมบัติ ความแข็ง ทั้งยังไม่เปราะแตกง่าย แต่การทนต่อกรดไม่ค่อยดี โดยเกรดที่นิยมนำมาผลิตแมคคานิคอลซีลตามสารที่ใช้เป็นตัวประสาน ได้แก่ โคบอลท์ (Cobalt Bonded) และ นิเกิล (Nickel Bonded)
- ซิลิคอน คาร์ไบด์ (Silicon Carbide) อีกหนึ่งวัสดุที่เป็นที่นิยมในการนำมาผลิตเป็นแมคคานิคอลซีล ด้วยคุณสมบัติที่มีราคาถูก ทนต่อสารเคมีได้ดี มีน้ำหนักที่เบา และทนต่อการสึกหรอได้ดี
- PTFE (Polytetrafluoroethylene) สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติ ทนต่อสารเคมีได้เกือบทุกชนิด แม้จะมีความแข็งแรงที่น้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ แต่สามารถผสมสารอื่นเพื่อเพิ่มคุณสมบัติความแข็งแรงได้
- สปริง หรือส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายสปริง มีหน้าที่เป็นส่วนที่ให้แรงกดกับหน้าซีลเพื่อทำให้หน้าซีลทั้งสองสัมผัสกันอย่างสนิท ช่วยป้องกันไม่ให้แรงดันจากของเหลวสามารถไหลผ่านเข้ามาได้ ซึ่งวัสดุที่นิยมนำมาผลิตนั้น ได้แก่
- PTFE (Polytetrafluoroethylene) สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติ ทนต่อสารเคมีได้เกือบทุกชนิด แม้จะมีความแข็งแรงที่น้อยกว่าวัสดุอื่น ๆ แต่สามารถผสมสารอื่นเพื่อเพิ่มคุณสมบัติความแข็งแรงได้
- โลหะ (Metal) ซึ่งโลหะบางประเภทนั้นสามารถนำมาใช้ผลิตสปริงในแมคคานิคอลซีลได้เป็นอย่างดีอย่างเช่นสแตนเลสสตีล (Stainless Steel) ด้วยคุณสมบัติที่ทนต่ออุณหภูมิและแรงกดได้สูง ทั้งยังสามารถทนต่อสารเคมีได้ค่อนข้างดี
- Secondary Seal อย่าง O-ring หรือ ยาง Bellow ที่จะมีหน้าที่ป้องกันการรั่วในแนวแกนเพลาระหว่างการเคลื่อนที่ ในบริเวณ Rotating Seal และช่วยกันรั่วที่บริเวณผิวสัมผัสของ Stationary Seal กับผนังของ Stuffing Box ซึ่งวัสดุที่นิยมในการนำมาใช้ทำ O-ring ในแมคคานิคอลซีลนั้น ได้แก่
- ยางซิลิโคลน (Silicone Rubber) ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง
- ยางไวตัน (Fluorocarbon Rubber) ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงมาก และยังสามารถทนต่อสารเคมีได้ดี
- ยางอีพีดีเอ็ม (Ethylene Propylene Diene Monomer) ที่มีคุณสมบัติทนต่อสภาวะอากาศได้ดี ทนต่อความร้อน
- ทนต่อกรด-ด่าง ทนสารเคมี และมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนาน
- ยางเอ็นบีอาร์ (Nitrile Rubber) ที่มีคุณสมบัติทนน้ำมัน ทนโซดาไฟ และตัวทำละลายได้ดี
- ยางไฮปาลอน (Chlorosulfonated Polyethylene) ทนต่อแรงฉีก แรงดึงสูง ทนต่อสารเคมี ทนความร้อนไม่ติดไฟ
เลือกวัสดุของแมคคานิคอลซีลให้เหมาะสมกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
เพราะว่าแมคคานิคอลซีลนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องถูกผลิตจากวัสดุที่เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นทั้งในเรื่อง อุณหภูมิ, แรงกด, ความเป็นกรด-ด่าง ล้วนสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานแมคคานิคอลซีลได้ทั้งสิ้น ก่อนการใช้งานแมคคานิคอลซีลทุกครั้งเราจึงควรเลือกปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าแมคคานิคอลซีลที่เราใช้งานนั้นได้รับมาตรฐานที่มากเพียงพอต่อการใช้งาน PNP Sealing หรือ บริษัท พีเอ็นพี ซีลลิ่ง จำกัด คืออีกหนึ่งผู้เชี่ยวชาญในด้านแมคคานิคอลซีล ด้วยความเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการซ่อมบำรุง แมคคานิคอลซีล ทุกรุ่น และยังรวมไปถึงชิ้นส่วนประกอบแมคคานิคอลซีลที่สามารถผลิตชิ้นงานให้ตรงตามแบบได้ตามความต้องการสำหรับใช้งานของคุณลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ทำให้มั่นใจได้เลยว่าแมคคานิคอลซีลที่ท่านใช้งานนั้น วัสดุทุกชิ้นส่วนของแมคคานิซอลได้รับการออกแบบที่ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานอย่างแน่นอน
ติดต่อ PNP Sealing
https://www.pnpseal.com
Tel : 0-2102-0196-7
E-mail : contact@pnpseal.com
Facebook : pnpseal
Line ID : pnpseal