คุณภาพของพลาสติกวิศวกรรมที่นำไปใช้ในอุตสากรรมแต่ละประเภท

1155 Views  | 

พลาสติกวิศวกรรม

คุณภาพของพลาสติกวิศวกรรมที่นำไปใช้ในอุตสากรรมแต่ละประเภท

คุณสมบัติของพลาสติกวิศวกรรมประเภทต่าง ๆ กับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม

 

พลาสติกวิศวกรรม หรือ Engineering Plastics เป็นวัสดุที่นำมาใช้ทดแทนวัสดุโลหะ ในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ฟันเฟืองในชิ้นส่วนรถยนต์ หรือนำไปทำเป็นของใช้ต่าง ๆ ตามประเภทของพลาสติกวิศวกรรมนั้น ๆ เนื่องจากพลาสติกวิศวกรรมเป็นวัสดุที่ถูกปรับแต่งโครงสร้าง ด้วยการผสมสารต่าง ๆ ลงไปให้พลาสติกมีคุณสมบัติและลักษณะตามที่ต้องการ จึงมีคุณสมบัติที่แข็งแรง สามารถทนต่อแรงกระแทกสูง ทนไฟ ทนความร้อน ทนต่อการกัดกร่อน และมีความเหนียว พลาสติกวิศวกรรมมีหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

 

การเลือกใช้พลาสติกวิศวกรรมให้มีคุณภาพตรงตามการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม จะต้องดูจากคุณสมบัติหลักของพลาสติกวิศวกรรมชนิดนั้น ๆ เป็นหลัก

 

  1. พลาสติกวิศวกรรม ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene)
    เป็นพลาสติกวิศวกรรมชนิดเทอร์โมพลาสติกที่มีความเหนียว ทนต่อสารเคมี มีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อสภาพอากาศ และมีจุดหลอมเหลวสูงอยู่ที่อุณหภูมิ 200-250°c พลาสติกวิศวกรรมแบบ ABS มีคุณสมบัติใส แต่หากผสมสีลงไปแล้ว จะทำให้มีคุณสมบัติขุ่น เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่สามารถนำมาใช้ในงานพิมพ์ 3D ได้ดี เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ขึ้นรูปง่าย และมีเป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีคุณภาพเหมาะกับการนำไปใช้ทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลไกต่าง ๆ เช่น โซ่และข้อต่อ นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุที่เหมาะกับการนำไปใช้งานกลางแจ้ง เพราะทนต่อความร้อน

  2. พลาสติกวิศวกรรม Polypropylene หรือ PP
    เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีคุณภาพในการนำมาทำเป็นชิ้นส่วนและอะไหล่ของเครื่องจักรอุตสาหกรรม เพราะทนต่อสารเคมี ทนต่อแรงดึง แรงกระแทก พื้นผิวมีคุณสมบัติเหนียว แข็งแรง และมีน้ำหนักเบา ทนต่อความร้อนได้ถึง 100°c และเป็นวัสดุฟู้ด เกรด ที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยาได้ ด้วยคุณสมบัติของพลาสติกวิศวกรรม PP จึงถูกนำมาทำเป็นฟันเฟืองของเครื่องจักร แผ่นรองกันสึก ฐานรองตอก ใบพัด ลูกกลิ้ง เกียร์ วาล์ว และใช้ทำเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของสายพานลำเลียง นอกจากนี้ยังเป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีคุณภาพดีพอที่จะใช้ทำท่ออุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทำบ่อชุบ บ่อสารเคมี หรือฉนวนหุ้มสายไฟและทำเป็นสายเคเบิ้ล

  3. พลาสติกวิศวกรรม PC (Polycarbonate)
    เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีน้ำหนักเบา เนื้อโปร่ง แต่มีความแข็งแรงทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถดัดให้โค้งงอได้โดยไม่แตก ทนต่อแรงกระแทก ทนต่อความร้อนได้สูง และทนต่อทุกสภาพอากาศ จึงเป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีคุณภาพดีในการนำไปใช้งานในงานก่อสร้าง มักนำไปทำเป็นแผ่นหลังคาหรือผนังกระจก เพราะพลาสติกวิศวกรรม PC มีความทนทานกว่ากระจกถึง 250 เท่า

  4. พลาสติกวิศวกรรม ASA (Acrylonitrile Styrene Acrylate Terpolymer)
    ASA เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีคุณสมบัติเชิงกลคล้ายกับ พลาสติกวิศวกรรม ABS คือมีความยืดหยุ่นสูง สามารถดัดงอได้ นอกจากนี้ยังทนต่อแรงกระแทก ทนต่อสารเคมีและความร้อน และทนต่อสภาพอากาศร้อน พลาสติกวิศวกรรม ASA มีคุณภาพที่าูงพอต่อการนำไปใช้ในงานก่อสร้างและอุตสาหกรรมยานยนต์ และสามารถนำไปใช้ในงานพิมพ์ 3D ได้ เพราะด้วยคุณสมบัติที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ขึ้นรูปได้ง่าย

  5. พลาสติกวิศวกรรม PMMA (Polymethyl Methacrylate)
    PMMA เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีลักษณะใส ทำให้แสงส่องผ่านได้ดีถึง 92% เมื่อนำไปย้อมสี ก็ยังมีลักษณะใสและแสงยังคงส่องผ่านได้ นอกจากนี้ผิวของ PMMA ยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศ ทนต่อความร้อน มีความแข็งแรง และมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันไฟฟ้า เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการนำไปทำเป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้า และใช้ทำเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ ในบริเวณที่ต้องการความใส แต่ก็ต้องมีความแข็งแรงทนทาน เช่น วัสดุครอบไฟรถยนต์ กระจกรถยนต์ หน้าปัดรถยนต์ และยังสามารถนำไปทำเป็นสิ่งของต่าง ๆ ได้อีกหลายประเภท โดยเฉพาะของที่ต้องการคุณสมบัติโปร่งแสง เช่น เลนส์แว่นตา แผ่นหลังคาโปร่งแสง นอกจากนี้ยังใช้ทำเป็นเครื่องสุขภัณฑ์หรือเครื่องประดับได้ด้วยเช่นกัน

  6. พลาสติกวิศวกรรม PBT (Polybutylene Terephthalate)
    เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่ทำจากโพลีเอสเตอร์ และเติมสารประกอบเสริมแรง เพื่อให้พลาสติกทนต่อสารเคมี ทนต่อตัวทำละลาย ทนต่อความร้อนได้สูงถึง 227°c และมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันไฟฟ้า นอกจากนี้คุณภาพที่โดดเด่นของพลาสติกวิศวกรรม PBT คือการที่โมเลกุลของพลาสติกจัดเรียงกันอย่างมีระเบียบ ทำให้ผิวของพลาสติกวิศวกรรมชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทานและมีความเหนียว จึงทำให้ทนต่อแรงกระแทกได้ดี จึงมีคุณภาพมากพอที่จะนำไปใช้เป็นชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น กันชนหรือเกียร์ และด้วยความทนต่อความร้อนและอุณหภูมิสูง จึงเหมาะจะนำไปใช้ทำเป็นชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หลอดไฟ ปลั๊กไฟ หรือพัดลมดูดอากาศ

  7. พลาสติกวิศวกรรม PA66 หรือไนลอน 66
    PA66 เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่ถูกปรับให้มีคุณสมบัติเหนียวและแข็งแรง ทนต่อสารเคมีและก๊าซต่าง ๆ ทนต่อการสึกหรอ เพราะพื้นผิวไม่มีแรงเสียดทาน และทนต่อความร้อน คุณภาพอันโดดเด่นของพลาสติกวิศวกรรม PA66 คือ ทนไฟ หากติดไฟ จะไม่เกิดการลามไฟ และไฟจะดับลงไปเอง เพราะเป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีสารหน่วงการติดไฟเป็นส่วนประกอบ และด้วยคุณภาพการกันไฟที่สูงกว่าพลาสติกวิศวกรรมชนิดอื่น จึงมักถูกนำไปใช้ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล

    ลูกเบี้ยว วาล์ว เพลาลูกกลิ้ง กล่องฟิวส์และนำไปใช้งานในระบบท่อโรงงานอุตสาหกรรมได้ เช่น ทำเป็นแดมเปอร์หรือใบพัดพัดลมดูดอากาศ และใช้ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ เช่น เกียร์ ตัวป้องกันเกียร์ พวงมาลัยรถยนต์ และที่ปัดน้ำฝน

  8. พลาสติกวิศวกรรม Turcite
    พลาสติกวิศวกรรมชนิดนี้ เป็นเรซินเทอร์โมพลาสติก ที่พื้นผิวมีแรงเสียดทานต่ำ ใช้ในการลดความลื่นของเครื่องจักรอุตสาหกรรม เช่นเครื่องจักรระบบ CNC เพราะช่วยลดการลื่นไถลของวัตถุ เมื่อนำมาเข้าเครื่องจักร Turcite ที่มีคุณภาพ จะต้องมีผิวสัมผัสที่ฝืดเพียงพอที่จะลดการลื่นไถลของวัตถุได้ดี

 

พลาสติกวิศวกรรมมีทั้งแบบเม็ดและแบบเส้น และยังมีพลาสติกวิศวกรรมที่เป็นของเหลว สำหรับใช้ในการเคลือบพื้นผิวต่าง ๆ เช่น อีพ็อกซี่หรือยูริเทน ซึ่งสามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม หากเป็นการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหารและยา ก็สามารถเลือกใช้พลาสติกวิศวกรรมฟู้ด เกรด ได้

 

หากคุณเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือต้องการสั่งผลิตชิ้นส่วนสำหรับการซ่อมบำรุงเครื่องจักร หรือ แมคคานิคอลซีล (Mechanical Seal) บริษัท พี.เอ็น.พี ซีลลิ่ง จำกัด เรารับจัดหาชิ้นส่วนแมคคานิคอลซีลให้กับเครื่องจักรของคุณ เช่น ซีลแก๊สแห้ง ซีลเครื่องกลสูบลมโลหะ O-Ring และผลิตยางตามแบบ แหวนยาง โดยจัดหาวัสดุคุณภาพดี เช่น พลาสติกวิศวกรรมที่มีคุณสมบัติและมีคุณภาพสูง ที่เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ พร้อมให้บริการซ่อมบำรุง

 

ติดต่อ PNP Sealing
https://www.pnpseal.com/oring-rubber 
Tel : 0-2102-0196-7
E-mail : contact@pnpseal.com
Facebook : pnpseal
Line ID : pnpseal

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy